ลูกค้าใหม่


ทำไมต้องจดโดเมน
หากท่านใช้อินเตอร์เน็ตเพียงเพื่อเปิดดูเวปไซต์ต่างๆ โดเมนคงจะไม่มีความจำเป็นสำหรับท่าน แต่ถ้าหากท่านใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อนำเสนอข้อมูล ขายสินค้า หรือ ติดต่อกับคนรู้จัก ท่านควรมีโดเมนเป็นตนเอง

สำหรับมือใหม่ อาจกล่าวได้ว่า โดเมน คือชื่อของแต่ละเว็บไซต์ เช่น เวลาที่ท่านเรียกเวปไซต์ "http://www.brinkstudio.com" ชื่อโดเมนคือ brinkstudio.com ไม่มี www นำหน้า โดเมนเป็นชื่อลอยๆในอินเตอร์เน็ต ไม่มีพื้นที่ ไม่มีเวปไซต์ ไม่มีอีเมล์ ไม่มีอะไรเลย มีแต่ชื่ออย่างเดียว
การที่จะเป็นเจ้าของชื่อโดเมนเนมสักชื่อนั้น ท่านต้องไปจดทะเบียนกับผู้รับจดเช่น บริ๊ง สตูดิโอ โดเมนที่จดทะเบียนใหม่ สามารถตั้งชื่ออะไรก็ได้ตามที่ท่านต้องการ แต่จะต้องไม่ซ้ำกับชื่อโดเมนที่คนอื่นจดทะเบียนไว้แล้วในอินเตอร์เน็ต

การจะติดต่อสื่อสารผ่านทางเวปไซต์หรือใช้อีเมล์ได้นั้น ต้องนำโดเมนมาผูกกับพื้นที่ ซึ่งได้แก่พื้นที่ฮาร์ดดิสก์บนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ที่มีผู้นำมาแบ่งให้เช่าเก็บข้อมูล เรียกว่า โฮสติ้ง  โดเมนเปรียบเสมือนเบอร์โทรศัพท์ พื้นที่เปรียบเสมือนเครื่องโทรศัพท์ คือ ถ้ามีแต่เบอร์ ไม่มีเครื่องก็ยังรับโทรศัพท์ไม่ได้ ต้องนำเบอร์โทรศัพท์มาผูกกับเครื่องก่อน  เมื่อมีพื้นที่แล้ว ขั้นต่อมาคือ เริ่มต้นใช้งาน เช่น หาคนทำเวปไซต์  หรือ สร้างอีเมล์ในชื่อ <you>@<yourdomain> แล้วแจกชื่อเวปไซต์กับอีเมล์นี้ให้แก่คนรู้จักที่ท่านต้องการติดต่อด้วย

การสมัครใช้ของฟรี เช่น เวปไซต์หรืออีเมล์ฟรี ใช้ได้เพียงชั่วคราว วันนี้ท่านอาจเห็นว่าของฟรีใช้ได้เหมือนกัน แต่วันหนึ่งในอนาคต หากท่านไม่ได้ใช้นั้นเป็นเวลานานจนถูกตัดบริการ หรือผู้ให้บริการปิดตัวลงเพราะขาดทุน ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นตลอดมา ท่านจะไปเรียกร้องจากใครไม่ได้เลย เพราะพื้นที่ฟรีเหล่านั้นใช้ชื่อโดเมนของผู้อื่น เมื่อเขายกเลิกบริการจะส่งผลให้ บุคคลที่ท่านเคยติดต่อไว้ และยังจำเวปไซต์หรืออีเมล์เก่าของท่านอยู่ต้องสูญเสียการติดต่อกับท่าน ท่านต้องเสียเวลา เสียค่าใข้จ่าย และ เสียหน้าเพื่อแจ้งเปลี่ยนชื่อใหม่ทุกครั้งที่เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ึขึ้น ต่างจากโดเมนของตนเองที่ควบคุมได้ด้วยการชำระเงินค่าต่ออายุ ถึงแม้ว่าท่านจะไม่พอใจที่จะใช้กับผู้รับจดโดเมนหรือ ให้เช่าพื้นที่ที่ใช้อยู่ ท่านสามารถย้ายชื่อหรือพื้นที่ไปใช้กับผู้ให้บริการรายอื่นได้

แนะนำตัว
บริ๊งสตูดิโอ รับจดชื่อโดเมนแถมพื้นที่เวปไซต์และอีเมล์ ท่านไม่ต้องไปสมัครเช่าพื้นที่แยกต่างหากอีก แต่ไม่รวมบริการออกแบบเวปไซต์ และ ไม่มีบริการเช่าพื้นที่เพียงอย่างเดียวสำหรับโดเมนที่จดทะเบียนจากที่อื่น (เหตุผลกล่าวไว้ข้างล่าง ในหัวข้อ เรื่องจริงของผู้รับจดโดเมน) นโยบายหลัก คือ เน้นเรื่อง ความเสถียร ความปลอดภัย และ ความเร็ว คุณภาพในการใช้งานส่งผลให้ทางบริ๊งไม่ต้องโฆษณาผ่านสื่อต่างๆ แต่อาศัยลูกค้าช่วยแนะนำต่อๆกันมา

จดโดเมน .com .net .org ที่บริ๊งใช้นายทะเบียน (Registrar) คือ Tucows ซึ่งอาจราคาสูงกว่าที่อื่นเล็กน้อย แต่ได้มาตรฐาน หมายถึง ไม่มีปัญหาจุกจิกตามมาทำให้ท่านต้องเสียเวลา  เพราะเราเชื่อว่าเวลาและความสุขของท่านมีค่ามากกว่า การประหยัดเงินเพียงไม่กี่ร้อยบาท และ ทุกโดเมนจะถือเป็นชื่อของเจ้าของคือผู้ชำระเงินโดยตรง สามารถตรวจสอบได้จาก whois และ ท่านจะได้รับรหัสผ่านแก้ไขโดเมนตั้งแต่เริ่มต้นใช้งาน หรือ หากท่านไม่พอใจการใช้งาน สามารถย้ายโดเมนไปที่ผู้รับจดรายอื่นได้ทันที โดยไม่มีการปิดกั้น สามารถดู Authorization Code ได้จากในหน้าแก้ไขโดเมน โดยไม่ต้องทวงเหมือนผู้รับจดโดเมนรายอื่นๆ

ซอฟท์แวร์ที่บริ๊งใช้ระบบปฎิบัติการ FreeBSD ซึ่งเสถียรและปลอดภัยกว่า Linux และ Microsoft Windows หลายเท่า พร้อมติดตั้งระบบป้องกันภัยหลายชั้น ตั้งแต่ DDOS, เมล์บอมบ์, ป้องกัน script ทีกินทรัพยากรมากเกินไป จนถึง firewall ป้องกันการล่วงล้ำจาก script ของผู้ใช้ที่ถูกเจาะ
และ ถึงแม้ว่าจะถูกเจาะเข้ามา พื้นที่เวปไซต์ที่รองรับเฉพาะ php ไม่รองรับ perl ไม่เปิดให้ execute คำสั่งหรือโปรแกรมประหลาด ฯลฯ  พร้อมทั้ง มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาช่วย เช่น แยกเวปไซต์ อีเมล์ ออกจากกันอยู่คนละเครื่อง เป็นต้น

ฮาร์ดแวร์ที่บริ๊งใช้จะอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในโลกเช่น IBM ที่สำคัญคือระบบออกแบบให้ทำงานภายใต้แนวคิด fail-safe คือ ถ้าอุปกรณ์ใดเสียจะยังมีอุปกรณ์อื่นทำงานแทน เราไม่พึ่งระบบสำรองข้อมูลแบบรายวันซึ่งเป็นระบบโบราณ ต้องใช้เวลากู้ข้อมูลนานอย่างน้อยครึ่งวัน แต่เราใช้ระบบสำรองข้อมูลที่เชื่อมโยงข้อมูลถึงกันตลอดเวลาแบบ real-time ทั้งในเครื่องเดียวกันและแยกเครื่อง เช่น raid storage, network mirror ซึ่งหมายถึง ถ้าเครื่องเสีย ท่านจะยังคงใช้งานได้ปกติ

แนวทางการทำงานของบริ๊งสตูดิโอคือจะเผื่อทรัพยากรไว้เท่าตัวเสมอ เช่น หากมีการใช้ CPU เกิน 50% จะมีการเพิ่มเครื่อง เนื่องจากที่บริ๊งใช้ระบบเก็บข้อมูลแบบ network storage แบบเดียวกับที่ใช้ใน search engine จึงสามารถขยายเครื่องได้ไม่จำกัด ต่างจากโฮศติ้งที่อื่นที่เก็บข้อมูลของลูกค้าอยู่ในเครื่องๆเดียว หากเครื่องนั้นล่มไปท่านก็จะใช้งานไม่ได้ทั้งหมด

พื้นที่เวปไซต์และอีเมล์ตั้งอยู่ในเมืองไทยทั้งหมด โดยกระจายอยู่ 2 เครือข่าย เพื่อป้องกันปัญหาจากกรณีที่เครือข่ายหนึ่งล่ม ยังมีเครือข่ายอื่นช่วยให้ผู้ใช้ไม่สูญเสียการติดต่อทั้งหมด เรียกใช้งานจากในประเทศและต่างประเทศที่ความเร็วระดับ 100Mbps ความเร็วในการใช้งานจึงขึ้นอยู่กับความเร็วของอินเตอร์เน็ตฝั่งผู้ใช้เป็นหลัก

เวปไซต์ที่ใช้งานที่บริ๊งจะเรียกได้เร็วกว่าที่อื่น และจะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วต่ำ เช่น dialup 56k หรือ GPRS เนื่องจาก มีการใช้เทคโนโลยี เช่น dynamic host, cache-control, gzip บีบอัดหน้าโฮมเพจ ทำให้เนื้อหาขนาด 100k เหลือส่งผ่านอินเตอร์เน็ตมาเพียง 10k แล้วมาแตก ในเครื่องผู้เข้าชมเป็น 100k ท่านสามารถตรวจสอบได้ว่า เวปไซต์ไดใช้ gzip บีบอัดหน้าโฮมเพจให้เล็กลง โดย copy 4 บรรทัดข้างล่างนี้ไป paste ในโปรแกรม notepad (สำหรับ Windows Vista ขึ้นไป จะต้องติดตั้งโปรแกรม telnet ก่อน โดยเข้าไปที่ Control Panel\Programs and Features คลิก Turn Windows features on or off แล้วเลือก Telnet Client)

telnet <hostname> 80
HEAD / HTTP/1.1
Host: <hostname>
Accept-Encoding: gzip

เปลี่ยน <hostname> ในบรรทัดที่ 1 และ 3 ให้เป็นชื่อเวปไซต์ปลายทาง เช่น www.brinkstudio.com เมื่อเปลี่ยนแล้ว copy ทั้งหมดจาก notepad นำไป paste ลงในโปรแกรม Command Prompt แล้วกด Enter 2 ครั้ง จะปรากฎผลออกมาหลายบรรทัด แต่จะมีอยู่บรรทัดหนึ่งเขียนว่า Content-Encoding: gzip ซึ่งแปลว่า เวปไซต์นี้มีเทคโนโลยีบีบอัดลดขนาดหน้าโฮมเพจ (โปรแกรม Notepad และ Command Prompt ของ Microsoft Windows อยู่ที่ Start->All Programs->Accessories)

อีเมล์ที่บริ๊งเร็วกว่าที่อื่น เพราะ ใช้เทคโนโลยีแบบเดียวกับที่ใช้ใน search engine เช่น Connection Cache,  Indexing ถึงแม้ว่าจะเก็บอีเมล์ไว้จำนวนมาก หรือเรียกใช้บ่อยเพียงใด จะยังคงเรียกได้เร็วอยู่เสมอ ต่างจากระบบอีเมล์ทั่วไปที่เก็บข้อมูลไว้ในไฟล์ธรรมดา เมื่อใช้งานเพิ่มขึ้น จะเริ่มช้าลง จนกระทั่งล่มในที่สุด เพราะไฟล์ธรรมดาเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นต้องใช้หน่วยความจำเพิ่มขึ้น

ระบบป้องกันเมล์ขยะ ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลายชั้น เช่น greylist, spf, best_guess ฯลฯ ที่นำมาดัดแปลงใหม่ เหตุที่ต้องมีหลายชั้นเนื่องจากผู้ส่งมีความหลากหลาย เทคโนโลยีเดียวจึงไม่อาจป้องกันเมล์ขยะได้ผล และเหตุที่ต้องนำเทคโนโลยีมาดัดแปลง เนื่องจาก เทคโนโลยีดั้งเดิมที่นำมาใช้กันทั่วไปนั้นยังโง่เกินไป นักส่งเมล์ขยะสามารถปรับตัวตามทันได้ในไม่ช้า ผลคือ ท่านได้รับเฉพาะอีเมล์สะอาดเกิน 90% เหตุที่ป้องกันไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์เนื่องจากมีผู้ส่งหรือผู้ให้บริการบางรายตั้งค่าผิดมาตรฐานสากลทำตัวคล้ายนักส่งเมล์ขยะ และนักส่งเมล์ขยะบางรายแอบแฝงมากับผู้บริสุทธิ์ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ระบบอีเมล์ถูกออกแบบมาไม่มีอีเมล์สูญหาย ถ้าส่งมาแล้วต้องถึง ถ้าไม่ถึงต้องตีกลับ แต่มีอาจมีผู้ส่งประมาณ 5% ที่อีเมล์ถูำกล่าช้าในการติดต่อครั้งแรก และ ประมาณ 1-2% ที่ได้รับอีเมล์ตีกลับ ซึ่งสาเหตุเกิดจากฝั่งผู้ส่งตั้งค่าผิดมาตรฐานและ delay timeout ต่ำเกินไป กรณีนี้ให้ผู้ส่งแจ้งข้อความตีกลับ ให้ผู้ดูแลระบบทั้งสองฝั่งคือทางบริ๊งและฝั่งผู้ส่งตรวจสอบ หรือให้ผู้ส่งรอไม่เกิน 2 ชมให้ระบบ auto whitelist ทำงาน แล้วส่งใหม่อีกครั้งจะมาถึงท่านในที่สุด

ผลของการออกแบบทั้งหมดนี้ ส่งผลให้การใช้งานที่บริ๊งแทบจะไม่มีปัญหาเรื่องล่มเลยตลอดทั้งปี ถึงแม้จะไม่มีใครกล้ารับประกันได้ 100% ว่าไม่ล่ม แต่ท่านสามารถวางใจได้ว่า การใช้งานที่บริ๊งจะไม่ได้ล่มจากบุคคลที่สามเจาะเข้ามา แต่เกิดจากการซ่อมแซมบำรุงรักษาของผู้ดูแลเท่านั้น

บริ๊งสตูดิโอไม่เปิดเผยรายชื่อลูกค้าสู่สาธารณะ เนื่องจาก ถือเป็นข้อมูลส่วนบุคคล ยกเว้นลูกค้าที่ต้องการประชาสัมพันธ์ตนเองดูได้ที่ กระดานสนทนา หัวข้อ โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และ บริ๊งไม่ส่งเมล์ไปหาลูกค้าโดยไม่จำเป็น เรื่องจำเป็น ได้แก่ แจ้งเหตุขัดข้อง และ แจ้งวันหมดอายุ

เรื่องจริงของผู้รับจดโดเมน
ผู้รับจดโดเมน หลายแห่งในปัจจุบัน ซื้อโดเมนมาจากนายทะเบียน(Registrar) ราคาถูกเพื่อประหยัดต้นทุน ทำให้เขาสามารถรับจดโดเมนอย่างเดียว ในราคาเพียงปีละไม่กี่ร้อยบาท แต่ผลของการใช้โดเมนราคาถูก คือ ต้องปวดหัวกับปัญหาจุกจิก เช่น onlinenic ของจีน whois เสียบ่อย หรือ เมื่อติดปัญหาแล้วอาจต้องเสียเวลาแก้ไขนานหลายสัปดาห์ เช่น เมื่อโดเมนหมดอายุแล้ว หน้าเวปไซต์ถูกเปลี่ยนเป็นหน้าโฆษณาทันที (เขาต้องทำเช่นนี้เพื่อหารายได้มาชดเชยกำไรจากค่าจดโดเมน) และการต่ออายุอาจต้องใช้เวลา 2-3 วัน เพื่อเปลี่ยน Name Servers กลับมาให้ใช้งานได้เหมือนเดิม บางที่เมื่อต่ออายุแล้ว Name Servers ไม่เปลี่ยนกลับ เจ้าของโดเมนต้องเข้าไปเปลี่ยนเอง เป็นต้น เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะ Registrar ราคาถูกไม่มีรายได้เพียงพอที่จะใช้เพื่อพัฒนาการใช้งานให้คล่องตัว

การจดโดเมนกับผู้รับจดที่ไม่ตรงไปตรงมา เป็นเรื่องอันตรายที่สุด เพราะทุกสิ่งทุกอย่างภายใต้ชื่อโดเมนนั้น ตั้งแต่เวปไซต์ถึงอีเมล์จะติดขัดจนถึงสูญหาย หากผู้รับจดไม่ให้ความร่วมมือ ผู้รับจดโดเมนบางรายไม่ยอมให้รหัสผ่านเข้าไปแก้ไขโดเมนด้วยข้ออ้างต่างๆ เช่น ใช้รหัสผ่านรวม ฯลฯ แถมยังใช้ชื่อและอีเมล์ของเขาเป็นเจ้าของโดเมน (Administrative Contact ใน whois) แต่เนื่องจากความเป็นเจ้าของโดเมนวัดได้จากคนที่ถือรหัสผ่าน ดังนั้นถึงแม้ว่าท่านเป็นผู้ชำระเงินแต่ไม่ได้รับรหัสผ่าน ถือว่าท่านไม่ใช้เจ้าของโดเมน สิ่งแรกที่ท่านต้องทำหลังจากจดโดเมน คือ ขอรหัสผ่านแก้ไขโดเมนมาให้ได้ (ไม่ใช่รหัสผ่านเข้าไปใช้พื้นที่) แต่ถ้าเขาไม่ให้จริงๆ ท่านควรปรึกษาผู้รับจดโดเมนรายใหม่เพื่อทำการย้ายโดเมนออกมา แต่การย้ายโดเมนออกมาไม่ใช่เรื่องง่าย นอกจากต้องแก้ไข Administrative Contact Email แล้วยังต้องขอให้ผู้รับจดปลอล็อกโดเมนและขอ Authorization Code มาอีกด้วย ดังนั้น ก่อนจดโดเมนกับใครท่านควรระวังให้ดี ไม่สำคัญว่าจะเป็นผู้รับจดรายใหญ่หรือเล็ก แต่ต้องมีหน้าแก้ไขโดเมนอัตโนมัติ แก้ไขแล้วข้อมูลใน whois เปลียนทันที ไม่ใช่หน้าแก้ไขปลอมที่ต้องรอยืนยันทางอีเมล์หรือรอคนทำให้ และ ท่านสามารถย้ายโดเมนไปทีใหม่ได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องติดต่อผู้ดูแล เช่น มีตัวเลือกให้ปลดล็อกโดเมนในหน้าแก้ไขโดเมน

เรื่องจริงของผู้ให้เช่าพื้นที่
ผู้ให้เช่าพื้นที่ ที่เรียกกันว่าโฮสต์ (host) หรือ โฮสติ้ง (hosting) ในปัจจุบันมีหลายแห่ง คุณภาพของโฮสติ้งวัดได้จาก ใช้งานแล้วไม่มีปัญหา หรือ มีปัญหาบ้างแต่สามารถแก้ไขให้กลับเป็นปกติได้อย่างรวดเร็ว  บางแห่งเปิดมาได้ไม่กี่ปีก็ต้องปิดตัวลง เพราะเมื่อเกิดปัญหาขึ้นแล้วแก้ไขไม่ได้ โฮสติ้งที่เชื่อถือได้ มักจะเปิดมาเป็นเวลานาน ถึงแม้ว่าบางแห่งเปิดมานานแล้วอาจมีปัญหา แต่ก็ยังรู้และหลีกเลี่ยงได้จากคำบอกเล่าของคนที่เคยใช้อยู่ก่อนแล้ว ไม่เหมือนที่เปิดมาใหม่ซึ่งไม่มีข้อมูลอะไรเลย ที่จริงแล้ว มีวิธีวัดคุณภาพของโฮสติ้งดังที่เขียนไว้ข้างล่าง แต่ถ้าท่านไม่มีข้อมูลอะไรเลย แนะนำให้ถามจากคนรู้จัก ที่เคยใช้อยู่ที่นั่นมาก่อนหน้านี้ เป็นเวลาหลายปี  การเลือกโฮสติ้งไม่ควรค้นหาใหม่ด้วยตนเองหรือเชื่อคำโฆษณา ไม่มีคำโฆษณาใดๆ เทียบได้กับประสบการณ์ จากการใช้งานจริง  นอกจากนี้ ท่านควรทดลองคุยกับเจ้าหน้าที่ของที่นั่นว่าสามารถให้ความรู้ได้กระจ่างหรือไม่

โฮสติ้งในปัจจุบันมีหลายแห่ง แต่ส่วนใหญ่ใช้อุปกรณ์คุณภาพต่ำ เช่น ใช้เมนบอร์ดแบบ desktop แถมยังใช้ยี่ห้อที่ไม่ได้ทดสอบความแข็งแรงมาก่อน บางทีใช้อยู่ดีๆเครื่องก็รวนหรือดับไปเฉยๆ และ ไม่มีระบบป้องกันความผิดพลาดอะไรเลย เช่น เวลาฮาร์ดดิสก์เสีย ไม่มีฮาร์ดดิสก์สำรองเก็บข้อมูลแบบ real-time ทำงานแทน หรือเวลาเครื่องเสีย ไม่มีเครื่องสำรองทำงานแทน  ทำให้ต้องปิดเครื่องเพื่อซ่อมหรือกู้ข้อมูลนานเป็นวัน หรือเป็นอาทิตย์ สาเหตุที่โฮสต์ส่วนใหญ่ไม่มีระบบเหล่านี้เพราะ เรื่องพวกนี้ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง และเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่หามาใช้ยาก ข้อมูลเหล่านี้จำเป็นต้องสอบถามจากทางโฮสต์ หรือสังเกตุง่ายๆคือ ล่มบ่อย นั่นคือ โฮสติ้งนั้นด้อยเทคโนโลยี

โฮสติ้งบางแห่งให้พื้นที่จำนวนมาก เพราะขาดจุดเด่นเรื่องคุณภาพ จึงนำเสนอเรื่องปริมาณแทน และเป็นมือใหม่ทำให้ลืมคิดถึงเวลาเครื่องเสีย ธุรกิจโฮสติ้งเป็นเหมือนแหล่งทำเงินสำหรับคนที่พลาดหวังจากธุรกิจอื่น, นักศึกษาจบใหม่หรือคนที่เพิ่งลาออกจากงาน ซึ่งคนเหล่านี้อ่อนเรื่องเทคนิค และ หาช่างเทคนิคเก่งๆไม่ได้ จึงมีการแข่งขันกันด้านปริมาณมากกว่าคุณภาพ ในความเป็นจริงแล้วการให้พื้นที่มากไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแค่ซื้อฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงมาใส่ซึ่งปัจจุบันมีราคาไม่แพง แต่คุณภาพวัดกันที่สถานการณ์ไม่ปกติต่างหาก เช่น ตอนที่ฮาร์ดิสก์เสีย คำแนะนำจากผู้มีประสบการณ์คือ หลีกเลี่ยงโฮสต์ที่ให้พื้นที่มาก เนื่องจาก
  1. ยิ่งให้พื้นที่มากยิ่งล่มนาน คนทั่วไปมองผิวเผินว่า ฮาร์ดดิสก์ในปัจจุบันมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ พื้นที่โฮสติ้งจึงน่าจะใหญ่ขึ้นตาม แต่ในความเป็นจริงแล้วไม่ใช่ เพราะ ไม่ว่าฮาร์ดดิสก์จะใหญ่ขึ้นเพียงใดก็ตาม ความเร็วในการอ่านเขียนยังคงเท่าเดิม ไม่ได้เร็วขึ้นตามขนาดของฮาร์ดดิสก์ที่เพิ่มขึ้น นั่นคือ เมื่อฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่มีปัญหา จะใช้เวลาซ่อมนานกว่า ฮาร์ดดิสก์ขนาดเล็ก การย้ายข้อมูลขนาดใหญ่ ก็จะใช้เวลาย้ายนานกว่า ข้อมูลขนาดเล็ก เพราะนอกจากความเร็วของฮาร์ดดิสจะเท่าเดิมแล้ว ความเร็วของการย้ายข้อมูลผ่านเครือข่าย ก็ยังไม่เพิ่มขึ้นตามกาลเวลาอีกด้วย ผู้ที่เคยทำงานกับข้อมูลขนาดใหญ่ หรือ ไฟล์จำนวนมาก จะรู้ดีว่า แต่ละขั้นตอนหลับรอได้เลย จากการสำรวจพบว่าโฮสต์เกิน 99% เก็บข้อมูลของลูกค้าไว้ในฮาร์ดดิสก์เพียงลูกเดียว อาจมีอีกลูกใช้สำรองข้อมูลรายวัน ดังนั้นเมื่อถึงเวลาที่ฮาร์ดดิส์เสีย(ซึ่งต้องเสียแน่นอน จะช้าหรือเร็วเท่านั้น)  เครื่องก็จะดับไปทันทีอย่างน้อยครึ่งวันเพื่อรอเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์, ลงโปรแกรมใหม่ ยังไม่นับเวลาในการกู้ข้อมูล เวลาในการกู้ข้อมูล ขึ้นอยู่กับขนาดและจำนวนของข้อมูล ถ้าข้อมูลขนาด 100 Gigabyte ใช้เวลาย้ายข้อมูลในเครื่องเดียวกันแค่ ครึ่งชั่วโมง ส่วนข้อมูลขนาด 1 Terabyte จะใช้เวลาย้ายเพิ่มขึ้น 10 เท่า คือ 5 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าฮาร์ดดิสก์ไม่เสีย เพียงแค่เกิดเหตุการณ์ผิดปกติเช่น ไฟดับ หรือ ฮาร์ดดิสก์เป็น bad sector ทำให้ต้อง scan ฮาร์ดดิกส์เพื่อซ่อมระบบไฟล์ จะใช้เวลาหลายชั่วโมงสำหรับฮาร์ดดิสก์ขนาด 1 Terabyte  ในสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุด คือ ต้องย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง อย่างเช่น นำข้อมูล backup กลับมา ซึ่ง backup ต้องเก็บไว้แยกเครื่อง เพราะเครื่องเดียวกันอาจไม่มีพื้นที่พอที่จะเก็บ การย้ายข้อมูลในเครือข่าย 100Mbps จะย้ายข้อมูลได้ประมาณ 30 Gigabyte ต่อชั่วโมง พื้นที่ 100 Gibabyte จะใช้เวลา 3 ชั่วโมง ส่วนพื้นที่ 1 Terabyte จะใช้เวลาย้ายข้อมูลถึง 30 ชั่วโมงไม่นับรวมเวลาที่อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นอีกเท่าตัว นั่นคือ ท่านจะใช้งานไม่ได้ไปอย่างน้อย 1 วันเต็มๆ ถึงแม้ว่าท่านจะใช้พื้นที่น้อย แต่อย่าลืมว่าผู้อื่นที่ใช้ shared hosting ร่วมกับท่านอาจไม่ได้ใช้พื้นที่น้อยเหมือนท่าน  ในสถานการณ์ที่เลวร้าย การอยู่ร่วมกับเพื่อนบ้านที่ใช้พื้นที่น้อย จึงใช้เวลากู้ข้อมูลน้อยกว่า หลังจากเครื่องล่มแล้วจึงมีโอกาสกลับมาใช้งานได้เหมือนเดิมเร็วขึ้น
  2. เสี่ยงข้อมูลหาย โฮสต์ที่ให้พื้นที่มาก สามารถเก็บข้อมูลสำรองไว้ในเครื่องเดียวกันเท่านั้น ท่านจะสังเกตุได้ว่าโฮสต์ส่วนใหญ่จะใส่ฮาร์ดดิส์ไว้ 2 ลูกในเครื่องเดียวกัน มักมีความจุไม่เท่ากัน โดยลูกแรกจะทำหน้าที่เก็บข้อมูลของท่านเพื่อให้ภายนอกเข้ามาใช้งาน ส่วนลูกที่สองจะทำหน้าที่สำรองข้อมูลแบบรายวัน เนื่องจากข้อมูลสำรองมีขนาดใหญ่ จึงไม่มีโอกาสเก็บข้อมูลสำรองแยกเครื่อง เนื่องจากไม่มีฮาร์ดดิสก์ขนาดใหญ่พอที่จะเก็บข้อมูลของลูกค้าทั้งหมด ที่กระจายอยู่หลายๆเครื่อง รวมไว้ในเครื่องเดียว ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่กู้ข้อมูลผิดพลาด ซึ่งมีโอกาสเป็นไปได้เวลาที่เครื่องเสียตอนกลางวันซึ่งลูกค้าต้องการรีบใช้งานทำให้คนทำต้องแข่งกับเวลา หรือการกู้ข้อมูลตอนกลางคืน ซึ่งคนทำกำลังง่วงนอน อาจกดปุ่มลบผิดหรือ format ผิดที่ หรือแม้แต่ความผิดพลาดที่คาดไม่ถึงจากซอฟท์แวร์ ล้วนทำให้ข้อมูลสำรองถูกลบไป นั่นหมายถึง ข้อมูลของท่านจะสูญหายไปทั้งหมด ไม่มีโอกาสกู้คืนมาได้อีก เพราะไม่มีข้อมูลสำรองแยกเครื่อง หรือข้อมูลสำรองแยกเครื่องมีเพียงชุดเดียวและล้าสมัย
  3. ฮาร์ดดิสก์ความจุสูงมีคุณภาพต่ำ ปัจจุบันยังไม่มีฮาร์ดดิสก์ความจุสูงแล้วคุณภาพดีวางขายในท้องตลาด ความสามารถในการใช้งานวัดกันที่ตอนที่ฮาร์ดดิสก์เสีย ฮาร์ดดิสก์ที่มีความจุสูงในปัจจุบันมีแต่แบบ sata เท่านั้น ซึ่งที่วางขายในท้องตลาดมี 2 ประเภทคือแบบ desktop และ enterprise โฮสต์ส่วนใหญ่ใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ desktop ซึ่งเป็นฮาร์ดดิสก์แบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ตามบ้าน มีโอกาสเสียง่าย บางแห่งใช้ฮาร์ดดิสก์แบบ enterprise ซึ่งถูกออกแบบมาให้เป็น bad sector อย่างรวดเร็ว ทำให้เสี่ยงที่ข้อมูลจะหาย นอกจากนี้  ฮาร์ดดิสก์แบบ sata มีความเร็วรอบต่ำ ในสถานการณ์ผิดปกติ เช่น เวปไซต์หนึ่งที่ใช้เครื่องร่วมกับท่านมีผู้เข้าชมพร้อมกันจำนวนมาก จนทำให้ฮาร์ดดิกส์ตอบสนองไม่ทัน  จะทำให้เข้าเวปไซต์ทั้งหมดในเครื่องนั้นเปิดไม่ขึ้นเลย แทบจะไม่มีที่ไหนเลยที่ใช้ฮาร์ดดิสก์คุณภาพดีๆเช่น sas เพราะมีความจุน้อยและราคาแพงมาก  ถึงแม้ว่าโฮสต์บางแห่งให้พื้นที่น้อย จะมีโอกาสใช้ฮาร์ดดิสก์คุณภาพต่ำได้เช่นก้น แต่ท่านยังมีโอกาสเลือกผู้ให้บริการที่ใช้ฮาร์ดดิสก์คุณภาพสูงได้
วิธีตัดสินใจเลือกปริมาณพื้นที่เวลาสมัครโฮสต์คือ เลือกโฮสต์ที่มีให้เลือกตั้งแต่พื้นที่น้อย(10-100 Megabyte)จนถึงพื้นที่มาก เพื่อลดจำนวนผู้ใช้พื้นที่มากๆที่ใช้เครื่องร่วมกับท่าน เพื่อให้โฮสต์สำรองข้อมูลง่ายขึ้น แล้วจึงเลือกพื้นที่ให้พอดีกับปริมาณการใช้งานในปัจจุบันของท่าน และเผื่อขยายในอนาคตไว้อีกเท่าตัว

โฮสติ้งส่วนใหญ่ในปัจจุบันใช้ Control Panel สำเร็จรูป ซึ่งรวมเวปไซต์กับอีเมล์อยู่ในเครื่องเดียวกัน แต่ปัญหาที่เกิดขึ้น ส่วนใหญ่มาจากเวปไซต์ ทำให้การใช้อีเมล์ได้รับผลกระทบไปด้วย เช่น ผู้ใช้แอบส่งเมล์บอมบ์  โดนเจาะผ่านทาง script บนหน้าเวปไซต์ ถูกแอบส่งเมล์ขยะ เป็นต้น เมื่อมีการใช้งานผิดปกติขึ้น จะทำให้เครื่องช้าจนถึงรวน การป้องกันทำได้ยากเพราะการตั้งค่าพื้นที่ เพื่อใช้กับเวปไซต์ และอีเมล์ นั้นแตกต่างกัน เมื่ออีเมล์ใช้งานได้ไมเสถียร แม้แต่ผู้ดูแลโฮสต์เองก็ยังไม่ใช้อีเมล์ภายใต้โดเมนของตนเอง นี่คือเหตุผลที่โฮสต์ส่วนใหญ่ใช้อีเมล์ฟรีติดต่อกับลูกค้า สำหรับท่านที่ต้องการความเสถียร แนะนำให้หาโฮสติ้งที่แยกอีเมล์และเวปไซต์ออกจากกันอยู่คนละเครื่อง (ตรวจสอบได้โดยเข้าไปที่โปรแกรม Command Prompt หา IP ของเวปไซต์พิมพ์ ping www.<yourdomain> และหา IP ของอีเมล์พิมพ์ ping <hostname> โดยสอบถาม <hostname> สำหรับเข้าใช้อีเมล์ทาง POP3 จากผู้ให้บริการรายนั้นอีกครั้ง บางแห่งอาจเป็น mail.<yourdomain> ดูผลตอบกลับมาจาก ping ว่าระหว่างเวปไซต์กับอีเมล์เป็น IP เดียวกันหรือไม่ ถ้า IP เหมือนกันแสดงว่า เวปไซต์และอีเมล์อยู่เครื่องเดียวกัน)  และ ระวังโฮสติ้งที่ใช้ Control Panel สำเร็จรูปหลายแห่งมักจะไม่รู้จริงในงาน เมื่อเกิดตัดขัดขึ้น เขาจะแก้ไขลำบาก และ Control Panel สำเร็จรูปไม่มีระบบสำรองข้อมูลรายวัน เมื่อฮาร์ดดิสก์ฝั่งผู้ให้บริการเสีย อาจทำให้ข้อมูลของท่านสูญหายทั้งหมดหรือกู้กลับคืนมาได้ไม่ครบ

ระบบป้องกันเมล์ขยะในปัจจุบันหลายแห่งจะใช้วิธีพื้นฐานคือ whitelist blacklist ไปจนถึงการให้คะแนนแบบ weight หรือ score ซึ่งวิธีการเปล่านี้ เป็นแนวคิดที่ปราศจากทฤษฎีมารองรับ คือจะจำกัดหรือให้คะแนนอีเมล์ฉบับไหนเท่าใด ขึ้นอยู่กับคนเขียนโปรแกรมตั้งค่าไว้ตามใจหรืออ้างอิงจากประสบการณ์ วิธีนี้จึง มีโอกาสทำให้อีเมล์หายทั้งขาเข้าและขาออก วิธีกรองเมล์ขยะที่ได้ผลต้องใช้วิธีที่ฉลาดมากขึ้น เช่น machine learning

ระวัง! ผู้ให้บริการที่โฆษณาว่าตนเองดีที่สุด เช่น เร็วที่สุด แข็งแกร่งที่สุด เป็นที่หนึ่ง ฯลฯ ไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีที่สุดบนโลกใบนี้ ยกตัวอย่างเช่น บางแห่งที่โฆษณาว่าอยู่ตึกเดียวกับกสท. มีสายขนาดใหญ่ แท้จริงแล้วเป็นเพียงเป็นสายภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ แต่ยังต้องแบ่งกันใช้กับคอมพิวเตอร์อีกจำนวนมากในเครือข่ายเดียวกัน การเรียกจากต่างประเทศจะช้ามาก เนื่องจากเขามีสายต่างประเทศขนาดเล็ก ผู้ให้บริการบางแห่งร้ายกว่านั้นคือจำกัด bandwidth ภายในประเทศไว้ ถึงแม้ว่าท่านจะใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูง แต่ยังได้ที่ความเร็วต่ำกว่าความเร็วของอินเตอร์เน็ตที่ท่านใช้ ทดสอบได้ด้วยการ upload และ download ไฟล์ขนาดใหญ่ทาง FTP และ http แล้วดูความเร็วจริง โดยประมาณจากตัวเลขแสดงความเร็วที่วิ่งอยู่บนหน้าจอ

ความเร็วของโฮสติ้งแต่ละรายที่วางเครื่องไว้ในประเทศ เมื่อเรียกจากในประเทศ มักจะไม่แตกต่างกัน ไม่ขึ้นอยู่กับว่าจะตั้งอยู่ที่ใดเครือข่ายใด เพราะ สายในประเทศมีราคาถูก ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตทั่วไป มักจะมีสายในประเทศขนาดใหญ่อยู่แล้ว ความเร็วของการเรียกจากในประเทศ จะขึ้นอยู่กับผู้ใช้และซอฟท์แวร์ในเครื่องนั้นเป็นหลัก ถ้าโฮสติ้งรายใดที่มีผู้ใช้ทรัพยากรมากเกินความสามารถของเครื่อง และใช้ Control Panel สำเร็จรูปซึ่งมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรได้ไม่ดีนัก ก็จะทำให้ลูกค้าทุกรายในเครื่องนั้นเรียกได้ช้าลง

ความเร็วในการเรียกจากต่างประเทศ จะขึ้นอยู่กับเครือข่ายโดยตรง เพราะ สายต่างประเทศมีราคาแพง ทดสอบความเร็วในการเรียกจากต่างประเทศ ได้ด้วยการให้คนรู้จักที่เมืองนอก ดาวน์โหลดไฟล์ขนาดใหญ่จากเวปไซต์ของท่านแล้วดูความเร็วที่วิ่งอยู่บนหน้าจอ

ผู้รับออกแบบเวปไซต์ส่วนใหญ่มักจะสมัครพื้นที่ซอยย่อยไว้กับโฮสติ้งรายใดรายหนึ่ง เมื่อท่านเจ้าของโดเมนไปจ้างเขาทำเวปไซต์ เขาจะขอให้ท่านเปลี่ยน name server คือย้ายโดเมนไปใช้พื้นที่ของเขาด้วย โดยเขาอาจอ้างเหตุผลเรื่องความสะดวกในการทำงาน ที่จริงแล้วเขาต้องการเก็บเงินกับท่านเพิ่มขึ้น แต่ปัญหาสำคัญที่สุดที่เขาไม่ได้แจ้งท่านคือความเสถียรของพื้นที่ ผลคือ หลังจากย้ายพื้นที่ไปแล้วเวปไซต์และอีเมล์จะเรียกใช้งานได้ช้าหรือมีปัญหาล่มบ่อย ดังนั้นท่านควรหลีกเลี่ยงการย้ายพื้นที่ ตามคำแนะนำของผู้รับออกแบบเวปไซต์ ยกเว้นท่านจะได้รับคำยืนยันจากคนรู้จัก ซึ่งเคยใช้พื้นที่กับโฮสติ้งรายนั้นมาเป็นเวลานานว่า ใช้แล้วไม่มีปัญหา แต่ถึงกระนั้น ก็ยังเสี่ยงมากที่จะใช้พื้นที่ที่ผู้รับทำเวปไซต์หามาให้ เพราะถ้าในอนาคต ผู้รับทำเวปไซต์รายนั้นหายตัวไป ท่านจะจัดการอะไรกับพื้นที่และโดเมนของตนเองไม่ได้เลย ดังนั้น ทางเลือกที่เหมาะสมที่สุดคือ อย่าใช้โฮสติ้งที่คนทำเวปไซต์หามาให้ แต่ท่านเป็นควรคนหาโฮสติ้งที่ไว้ใจได้ด้วยตนเอง แล้วจ้างคนทำเวปไซต์มาทำ

ผู้ใช้ส่วนใหญ่ไม่รู้ความจริงเหล่านี้ จะต้องเปลี่ยนผู้ให้บริการวนเวียนไปเรื่อยๆ เพราะ หลังจากสมัครใช้งานกับผู้ให้บริการรายนั้นไประยะหนึ่ง จะเริ่มใช้งานติดขัด สาเหตุเกิดจาก ผู้ให้บริการรายนั้นใช้ซอฟท์แวร์คุณภาพต่ำ เช่น qmail ซึ่งซอฟท์แวร์เหล่านี้มักจะติดมากับ Control Panel สำเร็จรูป เมื่อมีการใช้้งานปิดปกติเกิดขึ้นจากผู้ใช้รายหนึ่ง ซึ่งอาจไม่เจตนาหรือถูกบุคคลที่สามเจาะเข้ามา จะทำให้เครื่องรวนได้ง่าย ผู้ให้บริการหลายรายจึงมีปัญหาอืดหรือล่มอยู่เป็นประจำ เฉพาะผู้เชี่ยวชาญเท่านั้นที่จะทำให้ท่านสามารถใช้งานได้โดยไม่ติดปัญหา น่าเสียดายที่ผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบันมีน้อย

สรุปคำถามที่ท่านควรถามโฮสต์ก่อนตัดสินใจสมัครคือ
  1. มีระบบป้องกันความผิดพลาดอย่างไร ถ้าไม่มี ท่านยอมรับได้หรือไม่หากต้องปิดเครื่องเพื่อซ่อมและกู้ข้อมูลนานเป็นวัน
  2. ใช้อุปกรณ์อะไร ถึงแม้จะเป็นเครื่องมียี่ห้อแต่เป็นยี่ห้อที่มีคุณภาพดีหรือไม่ ใช้ฮาร์ดดิสก์ประเภทใด โฮสต์ที่ให้พื้นที่มากๆระดับ Gigabyte จำเป็นต้องใช้ฮาร์ดดิสก์คุณภาพต่ำคือ sata เท่านั้น
  3. การออกแบบระบบ อีเมล์กับเวปไซต์อยู่ในเครื่องเดียวกันหรือแยกเครื่อง หากท่านใช้อีเมล์ภายใต้โดเมนเพื่อติดต่อธุระสำคัญ ควรใช้อีเมล์แยกเครื่องกับเวปไซต์เพื่อความเสถียร
  4. ซอท์แวร์ที่ใช้มีความเสถียรเพียงใด ใช้ระบบปฎิบัติการอะไร Unix หรือ Linux หรือ Windows ถ้าไม่ใช่ Unix อาจมีปัญหาเรื่องความปลอดภัย ทำให้เครื่องรวน หลังจากใช้งานไประยะหนึ่ง
  5. มีการเผื่อทรัพยากรไว้ในกรณีฉุกเฉินหรือไม่ ถ้า load average หรือการใช้ cpu ในเครื่องเกิน 100% การใช้งานจะช้าลงเรื่อยๆตาม load ที่เกิน โฮสต์ที่ดีจะมี load ไม่เกิน 50%
  6. สายเชื่อมต่อไปต่างประเทศด้วยความเร็วเท่าใด
  7. ผู้ดูแลมีความรู้เพียงใด เวลาเกิดปัญหาแล้วช่วยแก้ไขได้หรือไม่
จดโดเมนนามสกุลอะไรดี
ความแตกต่างระหว่าง .com .net .org .info .biz และ .th คือ
คำแนะนำในการจดชื่อโดเมน คือควรมีแค่ตัวอักษรเท่านั้น
วิธีสมัคร
ลูกค้าใหม่สมัครผ่านทาง www.brinkstudio.com คลิก "ตรวจสอบชื่อ" หากพบว่าชื่อโดเมนยังว่าง ให้กรอกข้อมูลจนกระทั่วสิ้นสุดขั้นตอนการสมัคร ทุกโดเมนจดทะเบียนอย่างต่ำ 1 ปี และต่ออายุเป็นรายปี หรือถ้าไม่ต้องการต่ออายุบ่อย สามารถจดทะเบียนหรือต่ออาุยุมากกว่า 1 ปีได้เช่นกัน แต่ไม่เกิน 10ปี นับจากปัจจุบัน

หลังจากสมัครแล้ว จะมีอีเมล์อัตโนมัติ 1 ฉบับ Subject: Payments of <yourdomain> ส่งกลับไปยังอีเมล์ที่ท่านกรอกไว้ในขั้นตอนการสมัครในทันที ไม่ต้องรอ เนื้อหาในอีเมล์จะแจ้งวิธีการชำระเงิน หากท่านไม่ได้รับทดลองดูใน Junk folder  ของอีเมล์ที่ใช้โดยเฉพาะอีเมล์ฟรี  ที่มักจะคัดแยกอีเมล์ผิดไปลงใน Junk หากไม่มีติดต่อให้ทางบริ๊งส่งซ้ำ หากส่งใหม่แล้วยังไม่ได้รับอีก แนะนำให้ท่านแจ้งชื่ออีเมล์อื่นมาแทน

ชื่อที่สมัครไว้จะยังไม่มีการเปิดใช้งาน จนกว่าจะมีการแจ้งชำระเงิน ท่านสามารถชำระเงินได้ตลอดเวลา ไม่มีกำหนดวันหมดอายุ แต่ถ้ารอนานเกินไป อาจมีบุคคลอื่นแย่งจดโดเมนนี้ไปแทน

เริ่มใช้งาน
หลังจากแจ้งชำระเงินแล้ว พื้นที่จะเปิดใช้งานได้ทันทีที่ท่านได้รับอีเมล์ตอบกลับภายใน 1 วันหรือเร็วกว่านั้น โดยมีอีเมล์ส่งไป 2 ฉบับ ฉบับแรก เกี่ยวกับโดเมน และ ฉบับที่สอง เกี่ยวกับพื้นที่ ในกรณีที่ท่านได้รับอีเมล์แจ้งวิธีการใช้งานแล้วยังเรียกเวปไซต์ไม่พบ อาจเกิดจากท่านพยายามเรียกก่อนหน้าที่จะเปิดใช้งาน ทำให้ติด dns cache อยู่ที่ฝั่งผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต ขอให้ท่านรออีกไม่เิกิน 3 ชม. หากรอนานกว่านั้นแล้วยังเหมือนเดิม ให้แจ้งทางบริ๊งตรวจสอบ

หากท่านไม่ได้รับอีเมล์ฉบับใด ทดลองดูในกล่องเมล์ขยะของอีเมล์ที่ใช้โดยเฉพาะอีเมล์ฟรีที่มักจะคัดแยกอีเมล์ผิดไปลงในกล่องเมล์ขยะ หากไม่มีติดต่อให้ทางบริ๊งส่งซ้ำ หากส่งใหม่แล้วยังไม่ได้รับอีก แนะนำให้ท่านแจ้งชื่ออีเมล์อื่นมาแทน

อีเมล์ฉบับแรก เกี่ยวกับโดเมน Subject: <yourdomain> registration completed เป็นอีเมล์ฉบับที่สำคัญที่สุด ท่านควรเก็บไว้เป็นความลับ และหากต้องการแก้ไขข้อมูลเกี่ยวกับโดเมน ท่านควรแก้ไขด้วยตนเอง อย่าให้รหัสผ่านนี้แก่บุคคลอื่น เพราะผู้ที่เป็นเจ้าของโดเมนคือผู้ที่ถือรหัสผ่านในการแก้ไขโดเมน

อีเมล์ฉบับที่สอง เกี่ยวกับพื้นที่ Subject: <yourdomain> email and website enabled เป็นวิธีการเข้าใช้ Control Panel http://home.<yourdomain> และ FTP เพื่อแก้ไขข้อมูลเวปไซต์และอีเมล์ หากท่านว่าจ้างผู้ัรับทำเวปไซต์ ท่านควร forward อีเมล์ฉบับนี้ไปให้เขา และเมื่อเขาทำเวปไซต์เสร็จแล้ว ควรเปลี่ยน Password ของ Control Panel http://home.<yourdomain> และ FTP เพื่อไม่ให้เขาสามารถเข้ามาเปลี่ยนแปลงเวปไซต์ของท่านโดยพลการในภายหลัง

เวปไซต์หลัก เรียกได้ทั้งแบบมีและไม่มี www นำหน้าคือ http://www.<yourdomain> และ http://<yourdomain> แต่แนะนำให้เรียกแบบมี www นำหน้าเพื่อให้ตรงกับมาตรฐานทั่วโลก ซอฟท์แวร์ต่างๆจะรู้จักดี เช่น เมื่อท่านพิมพ์ www.<yourdomain> ลงในอีเมล์ โปรแกรมอีเมล์จะทำ link ให้โดยอัตโนมัติ

หลีกเลี่ยงการนำโฮมเพจหลายเนื้อหา มาแบ่งใช้พื้นที่ใช้ภายใต้โดเมนเดียวกัน เพราะ ผู้เข้าชมอาจจำสับสน ชื่อเวปไซต์ที่จำง่ายที่สุดคือ ชื่อที่ขึ้นต้้นด้วย www คือ http://www.<yourdomain> ไม่ใช่ http://sub.<yourdomain> หรือ http://www.<yourdomain>/sub/ ซึ่งผู้เข้าชมมักจะจำไม่ได้ถ้าไม่ได้ทำ Bookmark หรือ Favorite ไว้ในเครื่องส่วนตัว

รหัสผ่านในการแก้ไขโดเมน, Control Panel, FTP, MySQL แยกออกจากกันโดยอิสระ การแก้ไข password ของ Control Panel จะไม่เปลี่ยน password ของ FTP ด้วย